วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10.คลิปวีดีโอการเพาะพันธุ์ปลานิล


อ้างอิงhttp://www.youtube.com/watch?v=0TpI5wYsLDM

9.คลิปวีดีโอการเลี้ยงปลานนิลตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัว


อ้างอิงhttp://www.youtube.com/watch?v=aDWI8MNyZgg

8.คลิปวีดีโอการเลี้ยงปลานิลขุนส่งออก

 

อ้้างอิงhttp://www.youtube.com/watch?v=8ye9kYTtu6A

7.คลิปวีดีโอการเลี้ยงปลานิลรูปแบบใหม่


อ้างอิงhttp://www.youtube.com/watch?v=ATTdjjVg_ys

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

5.การป้องกันและกำจัดโรค

          ในธุรกิจการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือปลาที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงมักประสบอยู่เสมอ คือ เรื่องการเกิดโรค ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงปลามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและสาเหตุของโรค ปลาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการป้องกันและรักษาจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจนั้นบรรลุเป้าหมาย เป็นอย่างดีการเกิดโรคในปลามีสาเหตุมาจากปัจจัยด้วยกันเช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อรา น้ำในบ่อเป็นพิษอาหารที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสม เป็นต้น ดังนั้นเราควรจะได้มาทำความรู้จักกับชนิดของโรคปลาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปกัน อย่างสังเขปเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคปลาด้วยตัวเอง


          
โรคจุดขาว
     ปลา ที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆกระจายอยู่ทั่วลำตัวและครีบ สาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจนตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และสร้างเกราะหุ้มกันตัวต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภาย ในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของพยาธิจะ ว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด เช่น ปลาสวาย ดุก ช่อน นิล หมู ทรงเครื่อง ปลาหมอสีฯลฯ
การป้องกันและรักษา
     ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควรทำคือการทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมีดังนี้
     1.ฟอร์มาลิน 150-200ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. สำหรับปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ1000 ลิตร นาน 24 ชม.
     2.หรือมาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้นาน 30 นาที สำหรับปลาตัวใหญ่หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24. ชม.หรือเมททิลีนบูล 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตรแช่ติดต่อกัน 7 วัน
    3.หรือมาลาไค้ท์กรีนและฟอร์มาลีน ในอัตราส่วน0.15 กรัม และ 25 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24 ชม.แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน คสรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและทำการแช่ยาวันเว้นวัน และทำการติดเทอร์โมมิเตอร์ให้น้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศา เซลเซียส อย่างไรก็ตามเนื่องจากปรสิตชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นวิธีการป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ปลาที่นำมาเลี้ยงติด เชื้อมาด้วย


โรคโอโอดีเนียม
    ปลา ที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุราย บางครั้งพบว่ากระพุ้งแก้มเปิดอ้ามากกว่าปกติอาจมีแผลตกเลือดหรือรอยด่างสี น้ำตาลหรือเหลืองคล้ายสีสนิมตามลำคัวครีบตกหรือลู่ลง ปลาจะทยอยตายติดต่อกันทุกวัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องปลาจะตายหมดบ่อ โรคนี้มักพบเกิดมากในลูกปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาดุก ทรงเครื่อง กาแดง ช่อน กราย เป็นต้น
การป้องกันและรักษา
    1.แช่ปลาที่เป็นโรคนี้ด้วยฟอร์มาลิน จำนวน 30-40ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24 ชม. แล้วเปลี่ยนน้ำแล้วให้ยาซ้ำอีก ปลาที่ป่วยควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 3-4 วัน ในระหว่างการใช้ยาถ้าที่ป่วยควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 3-4วันในระหว่างการใช้ยาถ้ามีปลาตายควรตักออกจากตู้ให้หมด
    2.ใช้เกลือเม็ดจำนวน 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาถ้าเป็นปลาขนาดเล็กควรใช้เกลือน้อยกว่าปลาตัวใหญ่ (ก่อนใช้โปรดอ่านข้อควรระวังในการใช้เกลือ)

โรคพยาธิเห็บระฆัง
   โรค นี้จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวรูปร่างกลมๆมีแผ่นขอหนามอยู่กลาง เซลล์จะเข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือกและมีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาเกิดเป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมากก็จะทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือหมดตู้ ชนิดของปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ช่อน กะพงขาว ไน ตะเพียน ทรงเครื่อง สวาย เป็นต้น ควรรีบรักษาโรคนี้ตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรกๆจึงจะได้ผลดีกว่าปลาที่ติดเรื้อรัง
การป้องกันและรักษา
    1.การใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
    2.ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24ชม.

โรคเมือกขุ่น
   อาการ ของโรคนี้คือปลาจะมีเมือกสีขาวขุ่นปกคลุมลำตัวเป็นหย่อมๆ หรือขับเมือกออกมาจนกระทั้งได้กลิ่นคาว ครีบหุบ ว่ายน้ำกระเสือกกระสนบางครั้งจะลอยอยู่ตามผิวน้ำ สาเหตุของโรคนี้คือการติดเชื้อปรสิตเซลล์เดียวจำพวก คอสเตียชิโลโดเนลล่า และโบโดโมแนส ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด ได้แก่ ปลาเงิน ปลาทอง ดุก ช่อน ฯลฯ
การป้องกันและรักษา
    1.ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 48ชม.
    2.ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
    3.เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.

โรคจากเชื้อสปอร์โรซัว
    โรค นี้จะทำให้ปลาเป็นแผลช้ำบริเวณลำตัว หรือมีตุ่มสีขาวขุ่นอมเหลืองอ่อนคล้ายเม็ดสาคูเล็กๆ อยู่บริเวณกล้ามเนื้อลำตัว แต่ถ้ามีการติดโรคนี้ที่เหงือกเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ปลาหายใจไม่สะดวกและตายได้โดยเฉพาะกับปลาขนาดเล็กปลาที่มีรายงาน ว่าเป็นโรคนี้ได้แก ปลาบู่ กระดี่ หมอไทย กะพงขาว ฯลฯ
การป้องกันและรักษา
    เนื่อง จากเป็นปรสิตชนิดที่ฝังตัวเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้สารเคมีกำจัดได้ สำหรับสปอร์ที่หลุดออกจากเกราะแล้วอาจจะกำจัดได้โดยใช้สารเคมีชนิดเดียวกับ ที่ใช้ในการรักษาโรคจุดขาว ส่วนบ่อหรือตู้กระจกหลังจากจับปลาขึ้นมาหมดแล้ว ควรใส่ฟอร์มาลินเข้มข้น 250 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตรลงไปแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน จึงถ่ายน้ำออกจากบ่อ หรือตู้กระจกให้แห้ง จะช่วยกำจัดปรสิตที่หลงเหลืออยู่ได้หมด
โรคหูดเม็ดข้าวสาร
    ปลา ที่เป็นโรคนี้จะมีตุ่มสีขาวขุ่นอยู่ตามลำตัวลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสารมักพบใน กรณีที่มีการปล่อยปลาเลี้ยงอย่างหนาแน่น และการถ่ายเทน้ำไม่สะดวกปลาจะมีอาการผอมไม่กินอาหารและทยอยตาย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อโรซัวร์ขนาดเล็กชนิดของปลาที่มีรายงานว่าเป็น โรคนี้ ได้แก่ ปลาดุก สวาย
การป้องกันและรักษา
    1.อย่าปล่อยปลาแน่นเกินไป และควรทำการถ่ายเทน้ำให้กับบ่อปลาอย่างสม่ำเสมอ
    2.ถ้าพบปลาเป็นโรคควรเผาหรือฝังเสีย เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและเมื่อปลาเป็นโรคแล้วไม่มีทางรักษา
    3.ถ้านำปลาที่เป็นโรคในขั้นรุนแรงมากมาเลี้ยงในที่ที่มีน้ำถ่ายเทสะดวกและในอัตราส่วนที่ไม้หนาแน่นมากปลาก็อาจจะหายจากโรคได้เองบางส่วน



โรคจากเชื้อรา
    โดย ทั่วไปโรคที่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ หลังจากที่ปลาเกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้วมักเชื้อราเข้ามาร่วมทำแผลให้แผล ลุกลามไป โดยจะเห็นบริเวณแผลมีเชื้อราเกิดเป็นปุยเสียมากก็จะพบราเข้าเกาะกินไข่เสีย เหล่านั้นก่อน และลุกลามไปทำลายไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การป้องกันและการรักษา
    1.สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะพักใช้มาลาค็ท์กรีน จำนวน 0.1-0.15 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 240ชม.
    2.กรณีของปลาป่วยในบ่อดินมักพบต้นเหตุที่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อราเนื่องจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่



โรคเห็บปลา
    ปลาที่เป็นโรคนี้เราจะสังเกตเห็นได้ว่ามีพยาธิรูปร่างกลมๆสีเขียวปนน้ำตาลขนาดประมาณ 5-7 มิลลิเมตร เกาะอยู่ตามลำตัวหัว และครีบ มักพบเกิดกับปลามีเกล็ด เช่น ปลาช่อน แรด นิล ไน ตะเพียน เป็นต้นในปลาที่มีการติดโรคนี้เป็นเวลานาน จะมีแผลตกเลือดเล็กๆกระจายอยู่ทั่วตัว ปลาจะว่ายน้ำทุรนทุราย และพยายามถูกับตัวเองข้าวบ่อหรือตู้เพื่อให้พยาธิหลุด
การป้องกันและการรักษา
    1.แช่ปลาที่มีพยาธิตัวนี้ในสารละลายยาฆ่าแมลงจำพวกดิพเทอร์เร๊กซ์(Dipterex)ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24 ชม.
    2.แช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม(โปแตสเซียมเปอแมงกาเนต) ในอัตราส่วน 1กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นานประมาณ15-30 นาที แล้วจึงจะย้ายปลาไปใส่ในน้ำสะอาด
    3.กำจัดเห็บปลาออกโดยการจับออกด้วยปากคีบ หากพยาธิชนิดนี้เกาะแน่นเกินไปให้หยดน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ1-2 หยดลงบนตัวพยาธิแล้วจึงใช้ปากคีบดึงออก พยาธิจะหลุดออกโดยง่าย
    4.การกำจัดเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำได้โดยการตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

4.การเก็บเกี่ยวผลผลิต


       การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งสำหรับการจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการเลี้ยงในกระชังควรคำนึงถึงขนาดของปลาและปริมาณที่ตลาดต้องการ

 






3. รูปร่างและขนาดของกระชัง

       กระชังที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่ากระชังรูปแบบอื่นๆ
       ขนาดกระชัง ที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ
       กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร     กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร
       สำหรับต้นทุนค่าสร้างกระชัง ต้นทุนต่อปริมาตรจะลดลงเมื่อขนาดของกระชังใหญ่ขึ้นแต่ผลผลิตต่อปริมาตรก็จะลดลงด้วย เนื่องจากกระชังใหญ่กระแสน้ำไม่สามารถหมุนเวียนได้ทั่วถึง ความลึกของกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีความลึก 2.5 เมตร เมื่อลอยกระชังจะให้กระชังจมอยู่ในน้ำเพียง 2.2 เมตร โดยมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ความลึกของกระชังมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาเช่นกัน ปกติระดับออกซิเจนทีละลายในน้ำจะสูงบริเวณผิวน้ำ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเพียง 50 - 70 % ของปริมาณออกซิเจนที่ผิวน้ำเท่านั้น ดังนั้น การสร้างกระชังไม่ควรให้ลึกเกินไป เนื่องจากปลาจะหนีลงไปอยู่ในส่วนที่ลึกซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และจะส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ดังนั้นขนาดกระชังขึ้นอยู่กับปัจจัยเป็นองค์ประกอบของการเลี้ยงซึ่งผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจโดยพิจารณาถึงจำนวนปลาที่ปล่อย กระชังขนาดเล็กที่ปล่อยหนาแน่น ให้ผลผลิตต่อปริมาตรสูง ดูแลจัดการง่าย แต่ผลผลิตรวมอาจต่ำกว่ากระชังขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น
นอกจากนี้บริเวณผนังกระชังด้านบน ควรใช้มุ้งเขียวขนาดความกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ขึงทับไว้เพื่อป้องกันมิให้อาหารหลุดออกนอกกระชังในระหว่างการให้อาหาร
     การแขนงกระชัง   ควรแขวนให้กระชังห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมุมอับระหว่างกระชังเป็นการลดสภาวะการขาดออกซิเจน หากจำเป็นควรใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องสูบน้ำช่วยให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำภายในกระชังและเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำอีกด้วย

 ขนาดตาอวนที่ใช้ทำกระชัง จะต้องเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีลอดไปได้ อีกทั้งจะต้องให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวกและป้องกันไม่ให้ปลาขนาดเล็กภายนอกเข้ามารบกวนและแย่งอาหารปลาในกระชัง ขนาดตาอวนที่ใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 1.5 x 1.5 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหมุนเวียนของน้ำผ่านกระชัง กระชังควรมีฝาปิดซึ่งอาจทำจากเนื้ออวนชนิดเดียวกับที่ใช้กระชังหรือวัสดุที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาที่เลี้ยงหนีออกและปลาจากภายนอกกระโดดเข้ากระชัง รวมทั้งป้องกันไม่ให้นกมากินปลาที่เลี้ยง

2. อาหาร การให้อาหาร และการจัดการระหว่างการเลี้ยง

       การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา (intensive) หรือกึ่งพัฒนา (semi - intensive) เน้นการให้อาหารเพื่อเร่งผลผลิตและการเจริญเติบโต จึงควรจะใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโปรตีนค่อนข้างสูงและเหมาะสมกับความต้องการของปลาแต่ละขนาด ปัจจัยที่สำคัญควรนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการให้อาหารปลาในกระชัง
    ระดับโปรตีนในอาหาร ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปลานิลที่มีอายุต่างกันจะแตกต่างกัน สำหรับลูกปลาวัยอ่อน (Juvenile) และลูกปลานิ้ว (Fingerling) จะต้องการอาหารทีมีระดับโปรตีนประมาณ 30 - 40 % แต่ในปลาใหญ่จะต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 25 - 30 %
       เวลาในการให้อาหาร เนื่องจากปลานิลจะกินอาหารได้ดี เมื่อมีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงจะเป็นช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นส่วนใหญ่จึงควรให้อาหารในช่วงเวลาดังกล่าว
       ความถี่ในการให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหารจริงจึงสามารถกินอาหารได้ทีละน้อยและมีการย่อยอาหารที่ค่อนข้างช้า การให้อาหารครั้งละมากๆ จะทำให้สูญเสียอาหารและก่อให้เกิดสภาวะน้ำเสียได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารเม็ดสูงสุดจึงควรให้อาหารแต่น้อย แต่ให้บ่อยๆ โดยความถี่ที่เหมาะสมคือ ปริมาร 4 - 5 ครั้งต่อวัน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและทำให้ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐศาสตร์สูงสุด
       อัตราการให้อาหาร ปริมาณอาหารที่ให้ปลากินจะขึ้นอยู่กับขนาดของปลาและอุณหภูมิ หากอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจะทำให้อัตราการกินอาหารของปลาสูงขึ้นตามไปด้วย อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25 - 30 องศาเซลเซียส ควรให้อาหาร 20 % ของน้ำหนักปลา สำหรับปลาขนาดเล็กในปลารุ่นอัตราการให้อาหารจะลดลงเหลือ ประมาณ 6 - 8 % และสำหรับปลาใหญ่ อัตราการให้อาหารจะเหลือเพียง ประมาณ 3 - 4 %
       การจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรมีการตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม